บทความ

“กาเยาะ” เป็นภาษามลายูถิ่นที่ใช้กันในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งภูมิภาคคาบสมุทรมลายู ใช้เรียก “ช้าง” ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญกับคนในท้องที่เป็นอย่างมาก และ มักจะอยู่ในวาระพิเศษ เช่น การแห่ช้างในงานแต่งงาน หรือ วันเข้าสุหนัต ในอดีตช้างเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งอำนาจที่ ราชา หรือ รายา เจ้าผู้ปกครองหัวเมืองชายแดนใต้ ต้องมีช้างไว้ใช้ทั้งเป็นพาหนะ และ ยามทำศึกสงคราม แต่ปัจจุบันจำนวนช้างในพื้นที่สามจังหวัดมีจำนวนลดลงสืบเนื่องจากหลายปัจจัย ทุกวันนี...
..อ่านต่อTlejourn : ทะเลจร รองเท้าที่เกิดใหม่จากรองเท้าขยะที่ถูกทิ้งล่องลอยในท้องทะเล เกิดขึ้นจากไอเดียความคิดของนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยียาง และโพลิเมอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งต้องการลดปัญหาขยะที่มีอยู่ตามชายหาด และ นำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง โดยการนำขยะที่คัดแยกได้จากขยะชายหาดมาทำเป็นรองเท้าแตะหลากหลายแบบให้เลือก 3 ปี ผ่านไปนับจากวันที่ได้ริเริ่มโครงการ ปัจจุบันรองเท้าแตะทะเลจร ได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติเ...
..อ่านต่อ
ชุมชนในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งคนในชุมชนได้รังสรรค์สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ อย่าง ตลาดน้ำยะกัง สืบสานขนมโบราณ ๑๐๐ ปี ซึ่งกลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของจังหวัดนราธิวาสไปแล้ว ชุมชนตลาดน้ำบ้านยะกัง ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองนราธิวาส ห่างจากใจกลางเมืองเพียง 4 กม. เท่านั้น เล่ากันว่า เดิมเคยเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ มีพ่อค้าแม่ขายจากหลากหลายพื้นที่แวะเวียนกันมาทำมาค้าขายที่ท่าเรือแห่งนี้ ทำให้ชุมชนบ้านยะกังมีความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจมาแต่อดีต และเรื่องราวในประวัติศาสตร์ก็สะท้อนอยู่ในสถาปัตยกรรมของ...
..อ่านต่อ
หลังล่วงผ่านงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ศิลปะการแทงหยวกได้กลับมาเป็นที่รู้จัก และกลับมาอยู่ในความสนใจอย่างเป็นปรากฏการณ์อีกครั้งจากที่เงียบเหงาไปแล้วเกือบชั่วอายุคน การสลักหยวกหรือการแทงหยวก งานวิจิตรศิลป์ที่ทรงคุณค่าที่ใช้วัตถุดิบจากเรือกสวนไร่นา จัดเป็นงานฝีมือช่างประเภทหนึ่ง ที่จัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่ ประเภทสลักอ่อน การสลักหยวกกล้วยนั้น ผู้ที่เป็นช่างจะต้องได้รับการฝึกหัด จนเกิดความชำนาญ จึงจะสลักหยวกกล้วยได้โดยไม่ต้องวาดลวดลา...
..อ่านต่อ
พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ซึ่งการรับรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องก็เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ร่วมกับกระทรวงแรงงาน จัดโครงการบัณฑิตแรงงานขึ้น มีการจัดตั้งศูนย์แรงงานประจำอำเภอใน 4 จังหวัด พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา มีเป้าหมายเพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลซึ่งต้องการนำสันติสุข และความปลอดภ...
..อ่านต่อความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรกว่า 90% นับถือศาสนาอิสลาม และมีวิธีชีวิตที่เดินตามบทบัญญัติของศาสนา นั่นคือ การสอนให้ทุกคนนั้นกระทำความดี ชายคนหนึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอกพื้นที่ และตัดสินใจที่จะกลับมาใช้ความรู้พัฒนาบ้านเกิด ในบทบาทครู และผู้บริหารของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด หรือ ศูนย์ตาดีกา ซึ่งงานท้าทายก็คือการสืบทอดการศึกษาตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน ดำเนินคู่ขนานไปกับการศึกษาแนวคิดสมัยใหม่ และสามารถทำให้ศูนย์ตา...
..อ่านต่อ
ว่าววงเดือน คือ ศิลปะพื้นเมืองที่มีความสวยงาม และแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีของพื้นถิ่นชายแดนภาคใต้ เป็นว่าวโบราณที่ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ในจังหวัดชายแดนใต้ รวมไปจนถึงรัฐกลันตันทางตอนเหนือ ประเทศมาเลเซียนิยมเล่นกันมาก ว่าววงเดือนมีความแตกต่างจากว่าวทั่วไป โดยมีลักษณะคล้ายกับพระจันทร์ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งจันทร์ซีก จันทร์เสี้ยว และจันทร์เต็มดวง ว่าวจะถูกตกแต่งด้วยลวดลายที่แตกต่างกันไป ทั้งลายไทย ลวดลายมลายู และลวดลายแบบชวา แต่งเติมสีสันสวยงาม มีส่วนประดับที่เรียกว่า แอก ที่ตรงส่วนหัว...
..อ่านต่อ
“ปันจักสีลัต” คือ ศิลปะพื้นบ้านที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่วงท่าประกอบไปด้วยลีลาที่มีทั้งความเข้มแข็ง และอ่อนช้อยงดงาม ปัจจุบันปันจักสีลัตเป็นกีฬาที่คนรู้จักกันทั่วไป และเป็นกีฬาประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย แต่น้อยคนจะรู้ว่าในอดีตนั้นสีลัตเป็นทั้งศิลปะการต่อสู้ เป็นภูมิปัญญาศิลปะการร่ายรำเพื่อบำบัดรักษาความเจ็บป่วย เป็นกีฬาพื้นบ้านของคนรุ่นปู่ย่าตายายเหมือนกับคนไทยเล่นมวยไทย และเป็นศิลปะการร่ายรำที่ใช้ในการแสดงต้อนรับแขกบ้านแ...
..อ่านต่อหนังสั้นถือเป็นสื่อสร้างสรรค์ที่ผลิตขึ้นได้ไม่ยากนัก ใช้เทคนิควิธี และทักษะความยืดหยุ่นต่อการที่กลุ่มคนทุกเพศทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ศาสนาจะนำมาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ได้ กลุ่มเยาวชนหนังสั้นครูของพระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ก็เป็นอีกกลุ่มสร้างสรรค์กลุ่มหนึ่งที่ใช้หนังสั้น ในชื่อเรื่อง “ครูของพระราชา” เพื่อสื่อสารให้คนนอกพื้นที่ได้รับรู้สถานการณ์ และอัตลักษณ์ความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังแ...
..อ่านต่อ
นกเขาชวา เป็นนกที่คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นิยมเลี้ยงกันเป็นอย่างมาก ประเพณีการเลี้ยงนกเขาไว้ประดับบ้านถือเป็นมงคล โดยเลือกนกเขาที่เข้าลักษณะตามตำรา และนกที่มีเสียงดีตามลักษณะนิยม ไปทางไหนจะพบเสาสูงปักหน้าบ้านเพื่อชักรอกให้นกขึ้นไปผึ่งแสงแดดตอนเช้า และพ่นน้ำเสมอ มีการจัดงานแข่งขันฟังเสียงทั้งระดับประเทศ และนานาชาติเป็นประจำเกือบทุกปีที่จังหวัดยะลา แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และใน อ.เมือง จังหวัด ยะลา จะมีการแข่งนกเขาชวาเสียง ซึ...
..อ่านต่อ