วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2567

จรรยาบรรณช่างกริชรามัน รากเหง้าแห่งสันติสุข

 6 มี.ค. 2561 21:51 น.    เข้าชม 4573

      พื้นที่ภาคใต้ในอดีต ชายชาตรีมักพกกริชเป็นอาวุธประจำกาย นอกจากจะเป็นอาวุธแล้วยังเป็นสิ่งบ่งบอกฐานะทางสังคมของผู้เป็นเจ้าของ และกริชที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่ว คือ กริชรามัน ซึ่งมีความเชื่อและตำนานเล่าขานที่เปรียบเสมือนเครื่องลางที่มีคุณค่าทางจิตใจ ตามความเชื่อทางศาสนาทั้งศาสนาอิสลาม คริสต์และพราหมณ์ฮินดู ถือเป็นอาวุธศักดิ์สิทธิ์ ในคัมภีร์อัลกุร-อ่านและคัมภีร์ไบเบิลมีการกล่าวไว้ตรงกันว่า กริชเป็นอาวุธที่ใช้ปราบมารในวันสิ้นโลก ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู       ศิลปะอันงดงามของกริชรามัน ได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากช่างปัตตานีและชวาผสมกัน อีกทั้งยังมีศิลปะอีก 2 สายคือ จากพราหมณ์ฮินดูของอินเดีย โดยโคนของใบกริชนั้นจะมีลักษณะเหมือนงวงช้างยื่นออกมาคล้ายเศียรของพระพิฆเณศวร กริชยังเป็นอาวุธคู่กายของพระศิวะ กริชจึงแฝงด้วยค่านิยมและความเชื่อทางพราหมณ์ฮินดู ที่ว่ามนุษย์ไม่สามารถปกครองมนุษย์ด้วยกัน นอกจากเทพ กริชเป็นสัญลักษณ์ของเทพ และเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของเจ้าเมืองมลายูผู้เปรียบเสมือนสมมติเทพ และอีกสายหนึ่งจากทางเยเมน ซึ่งมาพร้อมกับครูสอนศาสนาที่เข้ามาในพื้นที่ รูปแบบนี้จะไม่มีหัวช้าง

      ในอดีตกริชจึงเป็นศาสตราวุธที่แสดงถึงอำนาจบารมี ยศถาบรรดาศักดิ์ของผู้ครอบครอง โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตามลักษณะของกริช โดยแตกต่างกันที่ด้ามและใบกริช ระดับที่ 1 ระดับเจ้าเมือง ด้ามกริชตามืองง มีลักษณะมีอำนาจบารมี ใบกริชมี 9 คดขึ้นไป ระดับที่ 2 คือ ระดับแม่ทัพ นายกอง ด้ามกริชแบบบอตากะลอจะมีลักษณะน่าเกรงขาม ใบกริชมี 7 คด และระดับที่ 3 คือประชาชนทั่วไป ด้ามกริชแบบดือรอจะมีลักษณะเรียบง่าย ไม่มีประดับยศ ใบกริชมี 5 คด       ผู้ที่จะเป็นช่างทำกริชรามันได้นั้น จะต้องมีจิตวิญญาณและอารมณ์ร่วมในการทำกริชแต่ละเล่มด้วย เพื่อให้กริชออกมาตามแบบที่กำหนด หากทำกริชของแม่ทัพอยู่ ต้องสร้างจินตนาการว่าตัวเองเป็นแม่ทัพและทำตัวน่าเกรงขามเพื่อให้จิตวิญญาณเข้าไปอยู่ในกริช ถ้าทำให้ประชาชนทั่วไป ก็ต้องเข้าถึงวรรณะผู้รับใช้ ในช่วงทำต้องไม่ประพฤติตนอย่างผู้ที่รับใช้ ต้องผสมผสานกันร่ายกายทั้งภายนอกและจิตใจภายใน ในช่วงเวลาการทำงาน ช่างทำกริชจะต้องตั้งจิตภาวนา ผนึกพลังจิตส่งเข้าไปในหัวกริช พร้อมกับนึกถึงอัลเลาะฮฺ เสมอ ครูภูมิปัญญา กริชรามัน

      ครูตีพลี อะตะบู ครูตีพลี อะตะบู ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประเภทเครื่องโลหะ ผู้สืบทอดการทำกริชรามันโบราณ ณ บ้านบึงน้ำใส ต.ตะโละหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา อาชีพดั้งเดิม เป็นชาวสวน ประกอบกับทำงานรับจ้างซ่อมเครื่องไฟฟ้า เริ่มต้นจากความรักในศิลปะรูปแบบต่างๆ และมีแรงบันดาลใจจะสืบทอดกริชให้คงอยู่ เนื่องจากมีอยู่ยุคหนึ่งที่ตำบลตะโลกหะลอซึ่งเป็นพื้นที่สืบทอดการทำกริชรามันมาตั้งแต่โบราณตามรูปแบบของกริชชวา รูปแบบปาแนซาระห์มาหลายชั่วอายุคน แต่แทบไม่มีช่างทำกริชเหลือในพื้นที่เลย เพราะฉะนั้นกริชที่ถูกทำขึ้นก่อนยุคนั้นจึงเป็นที่ต้องการ และมีพ่อค้าจากมาเลเซียเข้ามากว้านซื้อไปขายต่อหรือประดับบ้าน ทำให้ครูตีพลีเห็นว่า ถ้าไม่มีการสืบทอดก็จะหมดไป จึงเริ่มเรียนรู้หาข้อมูลการทำกริช ทดลองทำ ลองผิดลองถูกและพัฒนาความสามารถอยู่เสมอจนเป็นครูผู้รู้และชำนาญการในพื้นที่ ในสมัยเริ่มแรก ครูตีพลีก็อาศัยเครื่องมือที่ท่านใช้ในอาชีพซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องไม้ รูปร่างหน้าตาลวดลายของกริช และออกแบบผลิตจนเป็นเอกลักษณ์อย่างในปัจจุบัน       ขั้นตอนการทำกริช แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ การทำใบกริช หัวกริช และปลอกกริช การทำใบกริชรามัน จะคัดสรรเหล็กชั้นดีมาขึ้นรูป โดยเผาให้ร้อน แล้วนำมาตีให้มีรูปร่างคด จากนั้นตีให้แบน แล้วเจียและขัดให้เกลี้ยงเกลา ส่วนหัวกริชจะใช้ไม้เนื้อแข็งมาเตรียมให้ได้ขนาดหัวกริช วาดลวดลายและแกะลวดลายด้วย ขัดเกลาด้วยตะไบและกระดาษทรายให้งดงาม และสุดท้ายคือ การทำฝักหรือปลอกกริชซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่นอกจากจะต้องแกะสลักลวดลายแล้ว ยังต้องใช้ทักษะและเทคนิคขั้นสูงในการนำเนื้อไม้มาประกอบเข้าด้วยกันโดยการเข้าเดือยติดสนิทและไม่เห็นรอยต่อ ขัดเกลาและทาแลคเกอร์ เป็นอันเสร็จสิ้น ผู้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น

      กริชรามันนอกจากจะมีความสวยงามยังแฝงความหมายอันลึกซึ้งและมีคุณค่า ช่างจะต้องมีความชำนาญ ประกอบกับหลักจรรยาบรรณของช่างอันเคร่งครัด ทำให้ศาสตร์แขนงนี้เหลือช่างผู้มีฝีมือน้อยลงทุกที และอาจจะสูญหายไปเพราะขาดผู้สืบทอด จึงเป็นงานอันยิ่งใหญ่ในการเฟ้นหาสืบทอด ของครูภูมิปัญญา อย่าง มีแนวคิดที่จะนำเยาวชนนอกระบบมาจัดตั้งเป็นกลุ่มเพื่อสืบทอดการทำกริชรามันต่อไป       นอกจากศิษย์เอกคนสำคัญผู้สืบทอดการทำกริชรามันโบราณ ก็คือ ซุลฟาการ์ อะตะบู ลูกชายแท้ๆ ของครูนั่นเอง ด้วยความที่เป็นลูกที่ติดพ่อมาก ไปไหนพ่อก็เอาไปด้วย ไม่ว่าจะออกงานหรือไปสอนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย จากการติดตาม คลุกคลีการทำงานของพ่อตั้งแต่ยังเล็ก เริ่มต้นจากผู้ช่วย จนสามารถทำชิ้นงานของตัวเองขายได้ เมื่ออายุ 15 ปี แต่การถ่ายทอดวิชาความรู้มิได้จำกัดอยู่เพียงทายาทของท่านเท่านั้น แต่ยังถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาของครู โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ การสอนชาวบ้าน สอนเยาวชน และสอนเด็กนักเรียนในโรงเรียน รวมไปถึงนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ทั้ครูตีพลี อะตะบู พร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ ให้กับคนรุ่นใหม่ ไม่เลือกความต่างทางด้านศาสนาและชาติพันธุ์ ไร้ซึ่งอคติ งนี้เพื่อให้วิชาทำกริชรามันเผยแพร่ออกไปสู่ผู้คนให้มากที่สุด       โดยในปี พ.ศ.2559 ท่านได้ริเริ่มก่อตั้ง กลุ่มเยาวชนทำกริชบ้านตะโละหะลอ ขึ้นเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาการทำกริชรามันให้กับเด็กๆและเยาวชนรุ่นหลัง โดยเน้นกลุ่มเยาวชนนอกระบบที่มีเวลาว่างจากการทำสวนยางและมักตกเป็นเป้าของผู้ที่ไม่หวังดี ด้วยความตั้งใจที่จะอนุรักษ์ศิลปกรรมท้องถิ่นไว้ให้คงอยู่สืบไป ในส่วนของชาวบ้านทั่วไปนั้น ครูจะเน้นสอนเป็นอาชีพเสริม เพื่อเน้นการสร้างรายได้ เสริมให้กับครอบครัว ส่วนระดับเยาวชน ครูบอกว่าจะเน้นวิชาการผสมเนื้อเหล็ก การตีเหล็ก เพราะเป็นส่วนที่ไม่ต้องใช้สมาธิและใช้เวลามากนัก ขณะที่ระดับนักเรียน ซึ่งปัจจุบันเขาสอนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาบ้านตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา  โดยสอนสัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคารและวันพฤหัสนั้น จะเน้นปลูกฝังรากฐานตั้งแต่ทฤษฎีการทำกริช และโครงสร้างของกริช เพื่อให้เด็กนักเรียนเหล่านั้นมีความรู้รากฐานการทำกริชที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นการดึงเยาวชนให้มาทำกิจกรรมอยู่ในสายตาผู้ใหญ่ และเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้พวกเขาอีกด้วย ปัจจุบันทางกลุ่มเยาวชนทำกริชสามารถทำผลิตภัณฑ์ รับออเดอร์ทำขายสร้างรายได้ทั้งในและนอกพื้นที่ และมีพื้นที่ตลาดทางสื่อออนไลน์อีกด้วย และได้รับเชิญให้นำผลงานไปแสดงในงานวัฒนธรรมต่างๆ อยู่เสมอ จากศิลปหัตถกรรมเชื่อมสู่ศาสตร์แห่งการต่อสู้

      นอกจากทำกริชได้แล้ว ช่างทำกริชจะต้องรำกริชเป็น รำกริช หรือรำสีละ เป็นการแสดงศิลปะการป้องกันตัวในรูปแบบมลายูที่มีความสวยงามและดุดันผสมกลมกลืนอย่างลงตัว ในทุกท่วงท่ามีการแฝงปรัชญาในการดำรงชีวิตประจำวัน ประเภทของการรำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การรำกริชเพื่อเป็นการบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพ และเป็นศาสตร์การต่อสู้ที่แข็งแกร่งและงดงาม ในดอกลายของหัวกริชก็จะมีลายของท่าการร่ายรำด้วย       มูฮำหมัด อุมะ ผู้ก่อตั้งชมรม Silat seni Gayong จากเด็กวัยรุ่นที่ชื่นชอบศิลปะการป้องกันตัว ไม่ว่าจะเป็นมวยไทย กังฟู จนมีโอกาสได้มารู้จักและหลงรัก “สีละ” ว่าเป็นศิลปะการป้องกันตัวของมลายู เริ่มเรียนรู้ฝึกฝนอย่างตั้งใจ และกลายมาเป็นครูผู้สอนและสืบทอดการแสดงสีละ มุ่งมั่นที่จะสืบทอดและนำเสนอศิลปะมลายูให้คนทั่วโลกได้เห็น และให้เด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกลจากยาเสพติด มีร่างกายที่แข็งแรง แทนที่จะใช้เวลากับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ได้รู้จักเพื่อนและได้เดินทางไปหลายๆ ที่ เวลาออกไปแสดง

      ชื่อชมรม Silat seni Gayong มากจากคำว่า สีละ หรือ กายอง ซึ่งล้วนมีความหมายเดียวกัน จากการออกแสดงของสมาชิกชมรม ทำให้ได้รับความสนใจจากเยาวชนมาสมัครเรียนกันมากขึ้น และได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองที่จะฝากบุตรหลานมาเรียน จากแต่ก่อนที่ชาวบ้านต่างหลงลืมศาสตร์แขนงนี้ไปแล้ว โดยทางชมรมจะรับเยาวชนอายุ 7 ปีขึ้นไป นอกจากมูฮำหมัดที่เป็นครูผู้ฝึกสอนหลักแล้ว ยังมี แบเซ็ง - นิเซ็ง สาและ ผู้รอบรู้ศิลปวัฒนธรรมมลายูพื้นบ้าน เป็นที่ปรึกษาให้กับชมรมด้วย ให้การดูแลให้ความรู้กับเด็กๆ ดั่งลูกหลาน ท่านมีความหวังที่อยากจะเห็นศิลปะแขนงนี้เป็นที่รู้จักและสนับสนุนไม่ใช่เพียงจากคนในพื้นที่เพียงอย่างเดียว แต่อยากให้เป็นที่รู้จักของคนภายนอกด้วย ปลูกฝังจรรยาบรรณ ฝังรากเหง้าแห่งสันติสุข

      หากพูดถึงศิลปวัฒนธรรมของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กริชและสีละ เป็นศิลปะที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน เป็นอัตลักษณ์ของลูกหลานมลายู งานช่างทำกริชเป็นงานที่มีเกียรติและมีศักดิ์และศรี เพราะถือเป็นผู้รักษามรดกทางวัฒนธรรม รักษารากเหง้าวัฒนธรรมของตนเองไว้ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงไปถึงยุคที่ชุมชนอยู่อย่างเป็นสุข เยาวชนทำกริชบ้านตะโละหะลอ และชมรมสีละจึงเป็นแบบอย่างความภาคภูมิใจของชุมชนและเป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มองเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ จรรยาบรรณของช่างทำกริชเป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังให้กับพวกเขา ได้มีอยู่ในใจเพื่อให้พวกเขาเข้าถึงสันติสุขในใจและในชีวิตได้อย่างแท้จริง

ความคิดเห็น